ฉลุย! หัวรถจักร EV คันแรกในไทย “ศักดิ์สยาม” สั่งจัดเพิ่มอีก 50 คันบริการปีนี้

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการทดสอบใช้งานรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ EV on Train ว่า กระทรวงคมนาคม มีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษาการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) โดยประกอบหัวรถจักรที่ติดตั้งระบบแบตเตอรี่ และสามารถขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าได้เอง ซึ่งได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ตามนโยบาย Thai First จนเกิดเป็นหัวรถจักร EV ต้นแบบคันแรกของไทย โดยได้มอบให้ดำเนินการจดลิขสิทธิ์ไว้แล้ว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การทดสอบดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพที่ดี แสดงให้เห็นว่าแปรนโยบายไปสู่ปฏิบัติได้จริง โดยขณะนี้พัฒนาเป็นต้นแบบแล้วเสร็จ 1 คัน หลังจากนี้จะทดสอบจนเกิดความมั่นใจในการขับเคลื่อนที่ต้องมีความปลอดภัย จากนั้นจะนำไปใช้ลากจูงขบวนรถโดยสารขึ้นมาบนสถานีกลางฯ ต่อไป อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ รฟท. ดำเนินการจัดหาหัวรถจักร EV ทยอยมาให้บริการ 50 คันภายในปี 66 เพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟแก่ประชาชน ลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งหัวรถจักร EV สามารถลดต้นได้ 40-60% หากเทียบกับการหัวรถจักรดีเซลในปัจจุบัน ส่วนราคาหัวรถจักรแต่ละคันจะเป็นเท่าใด และรูปแบบการจัดหาจะเป็นอย่าง ทาง รฟท. จะเร่งศึกษารายละเอียดต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับหัวรถจักร EV ต้นแบบคันดังกล่าว ใช้ความเร็วสูงสุดได้ที่ 120 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) โดยหากใช้ลากตู้สินค้า จะใช้ความเร็วที่ประมาณ 70 กม.ต่อ ชม. สามารถลากตู้สินค้าได้ประมาณ 2,500 ตัน และหากใช้ลากตู้ขบวนโดยสาร จะใช้ความเร็วที่ประมาณ 100 กม.ต่อ ชม. สามารถลากตู้ขบวนโดยสารได้ประมาณ 650 ตัน หรือประมาณ 36 ตู้ ทั้งนี้ การชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. สามารถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 300 กม. โดยจากการทดสอบเสียงเบา ไม่มีควัน โดยมีค่าเสียงอยู่ที่ 75-76 เดซิเบล ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ขณะที่คุณภาพอากาศอยู่ที่ประมาณ 11 ไมครอน

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงความพร้อมในการเปิดให้บริการรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ ที่สถานีกลางฯ ซึ่งจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 66 ว่า ขณะนี้ รฟท. มีความพร้อมที่จะให้บริการแล้ว โดยขณะนี้ รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงคมนาคม ได้จัดเตรียมชัตเติ้ลบัส เพื่อรับส่งผู้โดยสาร รวมถึงขนถ่ายสัมภาระ จากสถานีกลางฯ ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ซึ่ง รฟท. อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วโดยสารแต่ละขบวน เพื่อที่จะจัดเตรียมรถชัตเติ้ลบัสรองรับได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสมต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

You May Also Like

More From Author