รู้จัก "ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา( Virtual Bank)" แบงก์รูปแบบใหม่กำลังมา
ธนาคารไร้สาขากำลังจะมา…ธปท. เปิดรับฟังความคิดเห็น 12 ม.ค.-12 ก.พ.
เดินหน้าสู่ดิจิทัลแบงก์เต็มรูปแบบ ไม่ยื่นขอ Virtual Bank ธนาคารไร้สาขา
ไทยใกล้จะมีการให้บริการธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) โดยคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่สนใจภายในไตรมาส 4 ปี 66 และประกาศรายชื่อผู้เล่น 3 ราย ที่มีศักยภาพภายในสิ้นปี 67
โดยการเกิดธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาย่อมถูกคาดหวังว่าจะเกิดการพัฒนารูปแบบการให้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่น่าจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มรายย่อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน(Unbanked) และกลุ่มที่ไม่เคยใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินในระบบ(Underbanked)
รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ไปจนถึงกลุ่มผู้ประกอบการระดับไมโคร(Micro enterprises)
ซึ่งการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาในไทย มีกลุ่มผู้เล่นรายใหม่ ๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และน่าจะร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิม หรือเป็นผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากมีทั้งเงินทุน ความเชี่ยวชาญทางด้านการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล รวมไปถึงการที่มีฐานลูกค้าเดิมเป็นจำนวนมาก ทำให้มีข้อได้เปรียบด้านการมีข้อมูลทางเลือกอื่น นอกเหนือจากข้อมูลรายได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้เล่นใหม่ต้องพิจารณาเงื่อนไขและปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เพราะการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาในไทยไม่ใช่เรื่องง่าย โดยผู้เล่นจะต้องเผชิญกับความท้าทาย ทั้งการหารายได้ การบริหารต้นทุนดำเนินการ ความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้ และการแข่งขันกับผู้เล่นอย่างธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมในตลาด ซึ่งได้ทำพัฒนาระบบโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile banking) ที่ตอบโจทย์การทำธุรกรรมของผู้บริโภคไปมากแล้วคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด
ขณะเดียวกันรายได้จากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการเงินก็ลดลงมาก ท่ามกลางการหารายได้จากการปล่อยสินเชื่อที่มีโจทย์เฉพาะที่ท้าทาย โดยเฉพาะในประเด็นการบริหารความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อรายย่อยกลุ่ม ตลอดจนการบริหารติดตามและทวงถามหนี้
ขณะที่ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ก็คุ้นชินกับการใช้แอปพลิเคชั่น โมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิม ตั้งแต่การทำธุรกรรมถอนเงินไม่ใช้บัตร โอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ไปจนถึงการขอสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชั่น จึงเป็นไปได้ว่าแพลตฟอร์มของธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา อาจไม่ได้สร้างความแตกต่างให้ผู้บริโภคในมุมของการทำธุรกรรมหลัก แต่คาดว่าน่าจะเป็นแพลตฟอร์มทางเลือกให้ผู้บริโภคในการใช้บริการทางการเงิน หากมีแรงจูงใจในการใช้งานที่มากพอ
ทั้งนี้สังเกตได้ว่า ผู้ให้บริการธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศล้วนมีที่มาที่ไปที่แตกต่างกัน ท่ามกลางการดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์การออกใบอนุญาตของทางการในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน โดยสามารถสรุปเป็นข้อสังเกตสำคัญได้ดังนี้
– ผู้เล่นมักมีฐานลูกค้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์เดิมเป็นจำนวนมาก
– การดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาภายใต้วัตถุประสงค์การออกใบอนุญาตของทางการที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ เป็นอีกปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้เล่นมีจุดขาย รวมถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกัน
– ระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่พร้อม ย่อมทำให้ผู้เล่นมีความได้เปรียบและเกิดการต่อยอดไปสู่การให้บริการธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาได้ไม่ยากนัก และอาจนำไปสู่การต่อยอดในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ได้อีกในระยะข้างหน้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การดำเนินธุรกิจมีความยั่งยืนมากขึ้นจากการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ และยังสามารถแชร์ต้นทุนการบริหารงานบางอย่างได้
– การพัฒนา User Interface ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้จะสร้างประสบการณ์ที่ดีให้มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
– การจับกลุ่มลูกค้า Unbanked และ Underbanked ทั้งที่เป็นลูกค้ารายย่อยและกลุ่มผู้ประกอบการระดับไมโคร ภายใต้เงื่อนไขการให้บริการที่ยืดหยุ่นกว่าธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม ทำให้ผู้ให้บริการธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาที่ประสบความสำเร็จมักมีส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่สูงกว่า ท่ามกลางอัตราการเติบโตของสินเชื่อ (Loan growth) ที่อยู่ในระดับสูง
– ปัจจุบัน การประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาอาจยังต้องแบกรับต้นทุนในการดำเนินงานอยู่มาก สะท้อนจากอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวม (Cost-to-Income Ratio: CIR) ที่อยู่ในระดับสูง
– ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ไร้สาขายังเป็นเรื่องท้าทายและน่าจับตามองต่อไปอีกระยะ สะท้อนได้จากอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity: ROE) และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on Asset: ROA) ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเกิดธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างให้กลุ่มผู้เล่นรายใหม่ให้สามารถเข้ามาแข่งขันในธุรกิจธนาคารได้ ท่ามกลางการเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอีกมากในระยะข้างหน้า แต่โมเดลในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาในไทยยังต้องรอการพิสูจน์อีกระยะเวลาหนึ่ง ภายใต้นโยบายการออกใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากทางการ เพื่อให้เข้ากับบริบทและโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคไทย
ขณะที่ประสบการณ์ต่างประเทศตามที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะยังเป็นเพียงแนวการศึกษาให้เรียนรู้เท่าทัน เพื่อจะสามารถนำมาปรับใช้ในกับไทยในบางบริบทได้ในระยะข้างหน้า