หลังพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง และประกาศเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 313 เสียง พร้อมส่ง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 โดยบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ 2 สภาฯ นั่นคือ 376 เสียง เท่ากับว่ายังขาดอีก 63 เสียง ที่รอให้ฝ่ายค้าน และ ส.ว.โหวตเลือกนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี
ซึ่งจนถึงตอนนี้มี ส.ว. จำนวน 12 คน ที่ประกาศจุดยืนชัดเจน ว่าจะโหวตออกเสียงสนับสนุนนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แก่
1.นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม
2.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
3.นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
4.นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
5.นายอำพล จินดาวัฒนะ
6.นายทรงเดช เสมอคํา
7.นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล
8.น.ส.ภัทรา วรามิตร
9. นายวันชัย สอนศิริ
10.นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์
11.ประมาณ สว่างญาติ
12.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล
13.นางประภาศรี สุฉันทบุตรคำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
14.นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
โดย ส.ว.แต่ละคนมีการออกมาประกาศจุดยืนผ่านช่องทางต่างๆ
นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ เผยแพร่จดหมายเปิดผนึก (วันที่ 16 พฤษภาคม) ระบุว่า ขอถือโอกาสนี้แสดงเจตนารมณ์ ภายใต้สิทธิสมาชิกวุฒิสภา ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สนับสนุนให้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในบัญชีพรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุด ได้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี
นายวันชัย สอนศิริ ก่อนหน้านี้มีทีท่าคล้ายกับจะไม่สนับสนุนตามมติเสียงข้างมากของประชาชน แต่ล่าสุดโพสต์ขอความผ่านเฟซบุ๊ก (วันที่ 17 พฤษภาคม) ว่า จุดยืนไม่เปลี่ยน โดยยืนยันว่า 1.ใครรวมเสียง ส.ส. ได้ข้างมาก ก็โหวตให้คนนั้น 2. เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย และตามความต้องการของเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน 3. เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จุดยืนนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก (วันที่ 16 พฤษภาคม) ระบุว่า รับฟังเสียงของประชาชนแน่นอน พร้อมโหวตสนับสนุนนายกฯ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ที่มาจาก ส.ส.ที่รวมกันได้เกินกว่า 250 คน
นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (วันที่ 15 พฤษภาคม) ว่า ส่วนตัวมีจุดยืนชัดเจนว่าฝ่ายใดรวบรวมเสียงข้างมากได้เกิน 250 เสียง จะโหวตให้ฝ่ายนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะเป็นคนของพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล ก็พร้อมโหวตให้ แต่กับ ส.ว. คนอื่นๆ ไม่กล้าการันตีว่าจะคิดแบบเดียวกันหรือไม่
นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (วันที่ 17 พฤษภาคม) ระบุว่า ให้เป็นไปตามฉันทามติของประชาชนที่เลือกพรรคการเมือง ให้เกียรติพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ถ้าจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นขอให้เอาหลักการเป็นตัวตั้ง หากไม่ได้ค่อยเป็นพรรคถัดไป ตามหลักกติกาสากล
เลือกตั้ง 2566 : รายแรกมาแล้ว! “ส.ว.วุฒิพันธุ์” ประกาศหนุน“พิธา”
เลือกตั้ง 2566 : “ส.ว.ภัทรา วรามิตร” ประกาศจุดยืนหนุน “พิธา” นั่งนายกฯ
เลือกตั้ง 2566 : เปิดชื่อ 9 ส.ว. พร้อมยกมือโหวตหนุน “พิธา” นั่งนายกฯ คนที่ 30
นายอำพล จินดาวัฒนะ โพสต์เฟซบุ๊ก (วันที่ 15 พฤษภาคม) โดยระบุว่า ผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 สะท้อนเจตนามหาชนชัดเจนแล้ว จากนี้ไปควรปล่อยให้กลไกประชาธิปไตยทำงานต่อ ไม่ว่าใครก็ตาม อย่าได้แทรกแซงไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใด ร่วมกันสานพลังสร้างชาติ ตามบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายจะดีกว่า ประเทศถึงจะไปต่อได้
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (วันที่ 16 พฤษภาคม) ว่า ส่วนตัวยึดหลักการ ใครที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้เกิน 250 เสียง ก็พร้อมเติมเสียงให้ฝ่ายนั้น ไม่ว่าจะเสนอชื่อใครมาเป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะเป็นชื่อนายพิธา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แต่คงไม่เกี่ยวกับส.ว.คนอื่นๆ ที่ไม่สามารถรับประกันได้ ว่าจะโหวตไปในทิศทางใด เพราะส.ว.หลายคนก็คิดไม่เหมือนกัน
น.ส.ภัทรา วรามิตร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก (วันที่ 16 พฤษภาคม) ระบุว่า ภัทรา วรามิตร สมาชิกวุฒิสภา เคารพมติประชาชน ขอประกาศจุดยืนสนับสนุน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
นายทรงเดช เสมอคํา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (วันที่ 17 พฤษภาคม) ว่า ตนได้ตั้งเป้าไว้ว่า ถ้าพรรคที่มีเสียงข้างมากสามารถรวบรวมเสียงได้เกิน 251 ขึ้นไป ตนก็จะโหวตให้ จริงอยู่ว่าฉันทานุมัติของประชาชน 14 ล้านคนเห็นด้วย แต่ 32 ล้านคนไม่เห็นด้วย แต่เสียงส่วนใหญ่ที่มอบหมายให้พรรคก้าวไกลทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาล ส่วนตัวตนจะโหวตให้ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้ แต่ฝากว่าพรรคที่เป็นรัฐบาลต้องทำหน้าที่ให้ถูกต้อง สิ่งไหนที่ไม่เหมาะสมก็ไม่น่านำมาเป็นนโยบายสำคัญ
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก (วันที่ 15 พฤษภาคม) ระบุว่า ผลการเลือกตั้งเป็นประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ต่อไปว่าพรรคก้าวไกลชนะถล่มทลายเพราะอะไร พรรครวมไทยสร้างชาติ โดยนายกฯ ลุงตู่ทำอะไรต่างๆ มากมายให้ประเทศไทยในช่วง 9 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่รัฐประหารปี 57 แต่ไม่สามารถได้ใจประชาชนแพ้การเลือกตั้งเพราะเหตุใด อย่างไรก็ตามเมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแบบนี้ ต้องเคารพเสียงของประชาชน
ประมาณ สว่างญาติ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (วันที่ 15 พฤษภาคม) ว่า ส่วนตัวไม่คัดค้านใครจะมาเป็นนายกฯ ขอให้เป็นไปตามมติของประชาชน ซึ่งในฐานะเกษตรกรคนหนึ่งที่ได้รับเลือกจากข้างล่างขึ้นไปข้างบน และมีความเชื่อมโยงจากประชาชน ส่วน สว. ท่านอื่นก็ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างจิตใจ แต่ตัวเองอยากให้ไปทางที่ไม่ขัดแย้ง ยิ่งมีมติประชาชนนำมาแล้วก็ควรที่จะไปทางนั้นมากกว่า
รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (วันที่ 17 พฤษภาคม) ว่า นอกจากนายพิธาแล้ว อีกคนที่จะเป็นแคนดิเดตเป็นใคร ซึ่งปกติจะไม่เสนอชื่อคนเดียว อย่างน้อยจะเสนอชื่อ 2 คน เป็น 2 ฝั่ง อนุมานจากครั้งที่แล้วก็จะมี 2 คนมาให้เลือก แต่ถ้ามีคนเดียว แล้วเสนอนายพิธา ก็ไม่ได้น่ารังเกียจ เพราะมาจากมติมหาชน ส.ส.เขตก็ได้มาก และ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ก็ได้เยอะ รวมกันแล้วได้อันดับ 1 ก็มีสิทธิ์อันชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งองค์ประกอบที่จะพิจารณาพรรคร่วมมีใครบ้าง นโยบายเป็นอย่างไร ตรงนั้นน่าสนใจกว่า
นางประภาศรี สุฉันทบุตร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก (วันที่ 18 พฤษภาคม) ระบุว่า ประภาศรี สุฉันทบุตร สมาชิกวุฒิสภา ประกาศจุดยืน เคารพมติประชาชน “เห็นชอบ” พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (วันที่ 18 พฤษภาคม) ระบุว่า เมื่อมีความชัดเจนแล้วว่าขณะนี้พรรคก้าวไกลสามารถรวบรวมเสียง8พรรคได้เพียง313เสียง ไม่ถึง376เสียง ประกอบกับได้รับฟังการแถลงแนวทางรวมถึงการกำหนดนโยบายพอสมควรแล้วถือว่ามีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ตนจะใช้สิทธิตามหลักประชาธิปไตยที่ยึดมั่นมาโดยตลอด ให้การสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลโดยการโหวตให้พรรคที่สามารถรวบรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ การโหวตรับรองนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 นั้น หากไม่มีการเทียบเชิญพรรคการเมืองอื่นร่วมรัฐบาลเพิ่มเติม จาก 313 เสียงที่มีอยู่ขณะนี้ นายพิธายังต้องอาศัยเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. อื่นๆ หรือ ส.ว. มาเพิ่มอีก 63 เสียง จึงสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด